FBS โฉมใหม่

สำรวจแนวคิดใหม่ของเรา เลื่อนลงเพื่อดูว่าเรามีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง
เปิดบัญชี
เปิดบัญชีล็อกอิน
เปิดบัญชี

ดัชนี

ดัชนีคืออะไร?

มีบริษัทหลายแสนแห่งที่ซื้อขายหลักทรัพย์กันในตลาดหลักทรัพย์ ดัชนีนั้นมีประโยชน์มากเมื่อคุณต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงของราคาของหลักทรัพย์จำนวนนับไม่ถ้วน และเมื่อคุณต้องการที่จะเข้าใจอารมณ์ของตลาด ดัชนีทำให้สามารถประเมินสถานะของตลาดหุ้นโดยรวมและกำหนดช่วงเวลาปัจจุบันในวัฏจักรเศรษฐกิจได้

นักลงทุนใช้ดัชนีหุ้นเพื่อประเมินสถานการณ์บนแพลตฟอร์มการซื้อขาย และเพื่อทำนายผลการซื้อขายในอนาคต ดัชนีนั้นถูกคำนวณสำหรับประเทศต่างๆ อุตสาหกรรมต่างๆ หรือหลักทรัพย์บางกลุ่ม ได้แก่ หุ้น พันธบัตร และสินทรัพย์อื่นๆ

ดัชนีในตลาดหุ้นมีการคำนวณอย่างไร?

ดัชนีถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มตามวิธีการคำนวณ กลุ่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ :

  • ดัชนีเลขคณิต (Arithmetic index) ราคาตลาดของหุ้นต่างๆ ที่รวมอยู่ในดัชนีจะถูกรวมเข้าด้วยกัน และผลรวมที่ได้จะถูกหารด้วยจำนวนหุ้นที่รวมไว้
  • ดัชนีค่าเฉลี่ยเลขคณิตถ่วงน้ำหนัก (Weighted average index) การคำนวณนี้จะเป็นการคูณตัวเลขแต่ละตัวในชุดข้อมูลด้วยน้ำหนักที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ในดัชนีแบบถ่วงน้ำหนักตามราคา หุ้นของแต่ละบริษัทจะถ่วงน้ำหนักด้วยราคาต่อหุ้น และดัชนีนี้เป็นค่าเฉลี่ยของราคาหุ้นของบริษัททั้งหมด ส่งผลให้หุ้นที่มีราคาสูงกว่ามีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของดัชนีมากกว่าหุ้นที่มีราคาต่ำกว่า ตัวอย่างของดัชนีดังกล่าวคือ Dow Jones Industrial Average (DJIA) ในดัชนีที่ถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าตามราคาตลาด หรือที่เรียกว่าดัชนีถ่วงน้ำหนักตามมูลค่าตลาด การถ่วงน้ำหนักของหุ้นตัวใดตัวหนึ่งจะพิจารณาจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดทั้งหมด ในดัชนีดังกล่าว หุ้นที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูงกว่าจะมีน้ำหนักที่มากกว่า และการเคลื่อนไหวใดๆ ในราคาหุ้นจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของดัชนีมากกว่า ตัวอย่างที่รู้จักกันดีที่สุดของดัชนีดังกล่าวคือ Standard & Poor's 500 (S&P 500)
  • ดัชนีค่าเฉลี่ยเรขาคณิต (Geometric average index) มันจะถูกคำนวณจากอัตราการเติบโตของราคาหุ้น ดัชนีประเภทนี้ ได้แก่ ดัชนี FT 30 ที่สร้างโดย Financial Times และดัชนี Value Line Composite Geometric

ประโยชน์ของการซื้อขายดัชนี

โดยทั่วไป ดัชนีมีวัตถุประสงค์หลายประการ

  • เพื่อให้ได้แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทั่วไปของราคาหุ้นของกลุ่มใดๆ (บริษัทต่างๆ, ประเทศต่างๆ, อุตสาหกรรมต่างๆ ฯลฯ) บ่อยครั้งที่ข้อมูลนี้ใช้สำหรับการซื้อขายเพื่อเก็งกำไร
  • เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติของนักลงทุน หากดัชนีเพิ่มขึ้น หมายความว่านักลงทุนมีทัศนคติที่ดีต่อการลงทุนในหุ้นบางตัว
  • การติดตามดัชนีในระยะยาวจะทำให้ทราบเกี่ยวกับบรรยากาศการลงทุนในบางประเทศ
  • นอกจากมูลค่าของดัชนีแล้ว บ่อยครั้งก็มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าการซื้อขายหุ้นของบริษัทที่อยู่ในดัชนีด้วย การเปลี่ยนแปลงในตัวเลขเหล่านี้บ่งบอกถึงกิจกรรมโดยรวมของเทรดเดอร์ในตลาดในการทำธุรกรรมกับหลักทรัพย์บางประเภท

ดัชนีใดที่มีการซื้อขายกันมากที่สุด?

ดัชนีชั้นนำระดับสากลที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดที่คุณสามารถซื้อขายกับ FBS ได้แก่:

  • ดัชนี NASDAQ 100 (US100)
  • ดัชนี FTSE 100 (UK100)
  • ดัชนี Nikkei 225 (JP225)
  • ดัชนีหุ้นออสเตรเลีย (AU200)

วิธีการเลือกดัชนีเพื่อการซื้อขาย?

ในการเลือกดัชนีสำหรับการซื้อขาย ก่อนอื่นเลย คุณต้องให้ความสนใจกับปัจจัยที่อาจส่งผลต่อราคา ซึ่งก็คือ:

  • ตัวบ่งชี้ของเศรษฐกิจมหภาค GDP, ระดับการผลิตภาคอุตสาหกรรม, ดุลการค้า แม้แต่ระดับเงินเฟ้อและการว่างงานก็มีผลกระทบต่อราคาเสนอ ตัวอย่างเช่น การเพิ่มขึ้นของอัตราการว่างงานร่วมกับตัวบ่งชี้อื่นๆ อาจบ่งบอกถึงการบริโภคที่ลดลง และตามมาด้วยรายได้ของบริษัทที่ลดลง
  • เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง การเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา ความขัดแย้งทางทหาร, การคว่ำบาตร, สงครามการค้า, ข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อผลกำไรของบริษัทในอนาคต และผลที่ตามมาก็คือมันส่งผลกระทบต่อดัชนีด้วย
  • อารมณ์ความรู้สึกของเทรดเดอร์ นี่คือทัศนคติของเทรดเดอร์ที่มีต่อตลาดและโอกาสทางเศรษฐกิจ ความคิดเห็นส่วนใหญ่นั้นมีบทบาทสำคัญ

ดัชนีฟิวเจอร์สสำหรับการป้องกันความเสี่ยง

ฟิวเจอร์สดัชนีเป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่ดัชนีหุ้นทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิง กล่าวคือ เป็นการรวมคุณสมบัติของทั้งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและดัชนีหุ้น

นักลงทุนมักใช้ดัชนีฟิวเจอร์สในการป้องกันความเสี่ยง โดยการเปิดตำแหน่งขายชอร์ตกับหุ้นในพอร์ตการลงทุนของตน สินทรัพย์อ้างอิงไม่ใช่หุ้นของบริษัทเดียว แต่เป็นของหลายๆ บริษัท หมายความว่าความเสี่ยงของการที่จะสูญเสียทั้งหมดก็มีน้อย แม้แต่ในช่วงวิกฤต นักลงทุนที่มีการป้องกันความเสี่ยงของพอร์ตโฟลิโอพวกเขาด้วยดัชนีฟิวเจอร์ส ก็รอดพ้นจากวิกฤตด้วยการขาดทุนเพียงเล็กน้อยหรือไม่ขาดทุนเลย

ใช้ดัชนีฟิวเจอร์สในการเก็งกำไร

นอกจากการป้องกันความเสี่ยงแล้ว เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์ยังใช้ดัชนีฟิวเจอร์สสำหรับการเก็งกำไรในการเคลื่อนไหวของราคาของดัชนีอีกด้วย ซึ่งหมายความว่าเทรดเดอร์ซื้อหรือขายดัชนีฟิวเจอร์สเพื่อเดิมพันทิศทางราคาของกลุ่มสินทรัพย์

สรุป

ดัชนีหุ้นไม่ใช่แค่ข้อมูลเชิงวิเคราะห์เท่านั้น นี่เป็นเครื่องมือการทำงานที่ครบครัน ซึ่งคุณสามารถทำธุรกรรมอิสระ ประเมินสถานะของอุตสาหกรรม และดำเนินการวิเคราะห์พื้นฐานของตลาด และยิ่งไปกว่านั้น ความเสี่ยงของการซื้อขายดัชนีมักจะต่ำกว่าการลงทุนในหุ้นแต่ละตัวเสมอ

FBS ณ สื่อสังคมออนไลน์

ติดต่อเรา

@@@@@

การซื้อขาย

บริษัท

เกี่ยวกับ FBS

เอกสารทางกฎหมาย

ข่าวเกี่ยวกับบริษัท

สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี้

เว็บไซต์นี้ดำเนินการโดย FBS Markets Inc. หมายเลขจดทะเบียน 000001317 ซึ่ง FBS Markets Inc. ได้รับการจดทะเบียนโดย Financial Services Commission ภายใต้พระราชบัญญัติอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ฯ 2021 (Securities Industry Act 2021) ใบอนุญาตเลขที่ 000102/6 ที่อยู่สำนักงาน: 9725, Fabers Road Extension, Unit 1, Belize City, Belize

โดย FBS Markets Inc. ไม่ได้ให้บริการทางการเงินแก่ผู้อยู่อาศัยในเขตอำนาจศาลบางแห่ง ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง: สหรัฐอเมริกา, สหภาพยุโรป, สหราชอาณาจักร, อิสราเอล, สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน, เมียนมาร์

ธุรกรรมการชำระเงินได้รับการจัดการโดย HDC Technologies Ltd.; Registration No. HE 370778; Legal address: Arch. Makariou III & Vyronos, P. Lordos Center, Block B, Office 203, Limassol, Cyprus ที่อยู่เพิ่มเติม: Office 267, Irene Court, Corner Rigenas and 28th October street, Agia Triada, 3035, Limassol, Cyprus

เบอร์ติดต่อ: +357 22 010970 เบอร์ติดต่อเพิ่มเติม: +501 611 0594

สำหรับความร่วมมือ กรุณาติดต่อเราผ่าน [email protected]

คำเตือนเรื่องความเสี่ยง: ก่อนที่คุณจะเริ่มทำการซื้อขาย คุณควรเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับตลาดสกุลเงินและการซื้อขายโดยใช้มาร์จิ้นอย่างถ่องแท้ และคุณควรตระหนักถึงระดับประสบการณ์ของตนเอง

การคัดลอก การทำสำเนา การเผยแพร่ รวมถึงแหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตของเนื้อหาใดๆ จากเว็บไซต์นี้สามารถดำเนินการได้เฉพาะเมื่อได้รับการอนุญาตที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น

ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน การชี้แนะ หรือการชักชวนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการลงทุนใด ๆ ทั้งสิ้น